วันอังคารที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2558

ดอกไม้ประจำ 12 ราศี

รู้หรือไม่ว่านอกจากเราจะมีสัญลักษณ์ประจำตัวของทั้ง 12 ราศี ที่ต่างกันออกไปแล้ว เรายังมีดอกไม้ที่เสมือนเป็นสัญลักษณ์ประจำตัวแทน 12 ราศีด้วยมาดูกันสิว่าราศีไหน มีเป็นดอกไม้ชนิดใดบ้าง
ดอกเบญจมาศ
เป็นดอกไม้ตัวแทนชนชั้นสูง ราชวงศ์ หรือกษัตริย์ ทนนานและมีพลังฉลาดแฝงอยู่มากเป็นพิเศษ คนราศีมังกรจึงเต็มไปด้วยความฉลาด มีความคิดวางแผนเป็นขั้นเป็นตอน เป็นดอกไม้แห่งความสำเร็จจึงมักจะมีผู้ให้การช่วยเหลือหรืออุปถัมภ์ตลอด
อย่างที่บอกแล้วว่าเป็นนักวางแผนที่ดี มีการวางแผนด้านการเงินเป็นเลิศ จึงเหมาะกับการลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์ อาชีพที่เหมาะคือ วิศวกร สถาปนิก ผู้ผลิตรายการสื่อต่าง ๆ งานเกี่ยวกับการเงิน ด้านความรักเป็นคนที่จริงใจและซื่อสัตย์ เพราะคนราศีมังกรจะเป็นพวกหัวอนุรักษ์นิยมเกี่ยวกับประเพณีและความเชื่อมาก
ดอกกล้วยไม้
ดอกกล้วยไม้ เป็นดอกไม้ประจำราศีกุมภ์
กล้วยไม้เป็นไม้ที่ต้องการการดูแลอย่างดี เป็นตัวแทนของการเอาใจใส่ดูแลอย่างลึกซึ้ง กล้วยไม้มักจะถูกจัดไว้ในที่ที่โดดเด่นโดยมี ดอกไม้อื่นแวดล้อม ชาวราศีกุมภ์จึงเต็มไปด้วยการเอื้ออาทรผู้คนรอบข้าง มีความฉลาดในตัวเอง รักธรรมชาติ ใจกว้าง
ชาวราศีกุมภ์จะชอบสิ่งของไฮเทค จึงเหมาะกับงานที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี โทรทัศน์ นักเขียน ศิลปิน อีกด้านก็สนใจเรื่องศาสนา ประวัติศาสตร์ และของโบราณ เขาสามารถผสมผสานศาสตร์เก่าและใหม่เข้ากันได้อย่างดี ด้านความรักจะชอบยึดมั่นในคำสัญญา ซื่อสัตย์และจงรักภักดีมาก

วันอังคารที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ประเทศสมาชิกอาเซียน (ASEAN Member States)


เนการาบรูไนดารุสซาลาม : Negara Brunei Darussalam



การปกครอง : สมบูรณาญาสิทธิราชย์

ประมุข : สมเด็จพระราชาธิบดีฮัจญี ฮัสซานัล โบลเกียห์ มูอิซซัดดิน วัดเดาเลาะห์

เมืองหลวง : บันดาร์เสรีเบกาวัน

ภาษาราชการ : ภาษามาเลย์, ภาษาอาหรับ

หน่วยเงินตรา : บรูไนดอลลาร์


ราชอาณาจักรกัมพูชา : Kingom of Cambodia


 การปกครอง : ระบอบประชาธิปไตย

ประมุข : พระบาทสมเด็จพระบรมนาถนโรดม สีหมุนี

เมืองหลวง : กรุงพนมเปญ

ภาษาราชการ : ภาษาเขมร

หน่วยเงินตรา : เรียล


สาธารณรัฐอินโดนีเซีย : Republic of Indonesia


การปกครอง : ระบอบสาธารณรัฐแบบประชาธิปไตย

ประมุข : พลโทซูซีโล บัมบัง ยูโดโยโน

เมืองหลวง : กรุงจาการ์ตา

ภาษาราชการ : ภาษาบาร์ฮาซา, ภาษาอินโดนีเซีย

หน่วยเงินตรา : รูเปียห์


สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว : The Loa People's Democratic Republic


การปกครอง : ระบอบสังคมนิยม

ประมุข : พลโทจูมมะลี ไซยะสอน

เมืองหลวง : นครหลวงเวียงจันทน์

ภาษาราชการ : ภาษาลาว

หน่วยเงินตรา : กีบ

มาเลเซีย : Malaysia


การปกครอง : สหพันธรัฐ โดยมีสมเด็จพระราชาธิบดีเป็นประมุข

ประมุข : สมเด็จพระราชาธิบดีสุลต่านตวนกู อับดุล ฮาลิม มูอัซซอม ซาร์

เมืองหลวง : กรุงกัวลาลัมเปอร์

ภาษาราชการ : ภาษามาเลย์

หน่วยเงินตรา : ริงกิต


สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ : Republic of the Union of the Myanmar


การปกครอง : ระบบประธานาธิบดี

ประมุข : พลเอกเต็ง เส่ง

เมืองหลวง : นครเนปิดอร์

ภาษาราชการ : ภาษาพม่า

หน่วยเงินตรา : จั๊ต


สาธารณรัฐ ฟิลิปส์  : Republic of the Philippine


การปกครอง : สาธารณรัฐเดี่ยวระบบประธานาธิบดี

ประมุข : เบนิกโน อากีโน ที่ 3

เมืองหลวง : กรุงมะลิลา

ภาษาราชการ : ภาษาตากาล๊อก, ภาษาอังกฤษ

หน่วยเงินตรา : เปโซ


สาธารณรัฐสิงคโปร์ : Republic of Singapore



การปกครอง : ระบบสาธารณรัฐแบบรัฐสภา มีประธานาธิบดีเป็นประมุข

ประมุข : โทนี ตัน เค็ง ยัม

เมืองหลวง : สิงคโปร์

ภาษาราชการ : ภาษาอังกฤษ, ภาษาจีนกลาง, ภาษามาเลย์, ภาษาทมิฬ

หน่วยเงินตรา : ดอลล่าร์สิงคโปร์


ราชอาณาจักรไทย : Kingdom of Thailand


การปกครอง : ระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข

ประมุข : พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

เมืองหลวง : กรุงเทพมหานคร

ภาษาราชการ : ภาษาไทย

หน่วยเงินตรา : บาท




วันจันทร์ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ประชาคมอาเซียน (ASEAN Community)


ประชาคมอาเซียนประกอบด้วยความร่วมมือ 3 เสาหลัก คือ

1. ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน

(ASEAN Political and Security Community – APSC)

           มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างและธำรงไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงของภูมิภาค เพื่อให้ประเทศในภูมิภาคอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข และสามารถแก้ไขปัญหาและความขัดแย้ง โดยสันติวิธี อาเซียนจึงได้จัดทำแผนงานการจัดตั้งประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political-Security Community Blueprint) โดยเน้นใน 3 ประการ คือ

          1) การมีกฎเกณฑ์และค่านิยมร่วมกัน ครอบคลุมถึงกิจกรรมต่าง ๆ ที่จะร่วมกันทำเพื่อสร้างความเข้าใจในระบบสังคมวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ที่แตกต่างของประเทศสมาชิก ส่งเสริมพัฒนาการทางการเมืองไปในทิศทางเดียวกัน เช่น หลักการประชาธิปไตย การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน การสนับสนุนการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคม การต่อต้านการทจริต การส่งเสริมหลักนิติธรรมและธรรมาภิบาล เป็นต้น

          2) ส่งเสริมความสงบสุขและรับผิดชอบร่วมกันในการรักษาความมั่นคงสำหรับประชาชนที่ครอบคลุมในทุกด้านครอบคลุมความร่วมมือเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงในรูปแบบเดิม มาตรการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจและการระงับข้อพิพาท โดยสันติเพื่อป้องกันสงครามและให้ประเทศสมาชิกอาเซียนอยู่ด้วยกัน โดยสงบสุขและไม่มีความหวาดระแวง และขยายความร่วมมือเพื่อต่อต้านภัยคุกคามรูปแบบใหม่ เช่น การต่อต้านการก่อการร้าย อาชญากรรมข้ามชาติต่าง ๆ เช่น ยาเสพติด การค้ามนุษย์ ตลอดจนการเตรียมความพร้อมเพื่อป้องกันและจัดการภัยพิบัติและภัยธรรมชาติ

          3) การมีพลวัตและปฏิสัมพันธ์กับโลกภายนอก เพื่อเสริมสร้างบทบาทของอาเซียนในความร่วมมือระดับภูมิภาค เช่น กรอบอาเซียน+3 กับจีน ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้) และการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก ตลอดจนความสัมพันธ์ที่เข้มแข็งกับมิตรประเทศ และองค์การระหว่างประเทศ เช่น สหประชาชาติ

2.ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

(ASEAN Political-Security Community-AEC)

          มีวัตถุประสงค์เพื่อทำให้อาเซียนมีตลาดและฐานการผลิตเดียวกันและมีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน  เงินทุน และแรงงานมีฝีมืออย่างเสรี อาเซียนได้จัดทำแผนงาน การจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community Blueprint) ซึ่งเป็นแผนงานบูรณาการการดำเนินงานในด้านเศรษฐกิจเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ 4 ด้าน คือ

         1) การเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียว (single market and production base) โดยจะมีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน และแรงงานมีฝีมืออย่างเสรี และการเคลื่อนย้ายเงินทุนอย่างเสรีมากขึ้น

         2) การสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของอาเซียน โดยให้ความสำคัญกับประเด็นนโยบายที่จะช่วยส่งเสริมการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ เช่น นโยบายการแข่งขัน การคุ้มครองผู้บริโภค สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา นโยบายภาษี และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (การเงิน การขนส่ง เทคโนโลยีสารสนเทศ และพลังงาน)

         3) การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างเสมอภาค ให้มีการพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และการเสริมสร้างขีดความสามารถผ่านโครงการต่าง ๆ

         4) การบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก เน้นการปรับประสานนโยบายเศรษฐกิจของอาเซียนกับประเทศภายนอกภูมิภาคเพื่อให้อาเซียนมีท่าทีร่วมกันอย่างชัดเจน

3. ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน

(ASEAN Socio-Cultural Community – ASCC)

          อาเซียนได้ตั้งเป้าเป็นประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ในปี 2558 โดยมุ่งหวังเป็นประชาคมที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง มีสังคมที่เอื้ออาทรและแบ่งปัน ประชากรอาเซียนมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดีและมีการพัฒนาในทุกด้านเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน รวมทั้งส่งเสริมอัตลักษณ์อาเซียน (ASEAN Identity)
เพื่อรองรับการเป็นประชาคมสังคม และวัฒนธรรมอาเซียน โดยได้จัดทำแผนงานการจัดตั้งประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community Blueprint)ซึ่งประกอบด้วยความร่วมมือใน 6 ด้าน ได้แก่

      1) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

      2) การคุ้มครองและสวัสดิการสังคม

      3) สิทธิและความยุติธรรมทางสังคม

      4) ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม

      5) การสร้างอัตลักษณ์อาเซียน

      6) การลดช่องว่างทางการพัฒนา

     ทั้งนี้โดยมีกลไกการดำเนินงาน ได้แก่ การประชุมรายสาขาระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส และระดับรัฐมนตรีและคณะมนตรีประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซีย

วันอาทิตย์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ธงและสัญลักษณ์อาเซียน


ธงอาเซียน



ตราสัญลักษณ์


 สัญลักษณ์ของอาเซียน คือ รูปรวงข้าว สีเหลืองบนพื้นสีแดงล้อมรอบด้วยวงกลม สีขาวและสีน้ำเงิน

รวงข้าว 10 ต้น หมายถึง ประเทศสมาชิก 10 ประเทศ

                                         สีเหลือง  หมายถึง  ความเจริญรุ่งเรือง

                                         สีแดง  หมายถึง  ความกล้าหาญและการมีพลวัติ

                                         สีขาว  หมายถึง  ความบริสุทธิ์

                                        สีน้ำเงิน  หมายถึง  สันติภาพและความมั่นคง

วันเสาร์ที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

กฎบัตรอาเซียน (ASEAN Charter)

         ในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 13 เมื่อปี 2550 ที่ประเทศสิงค์โปร์ ผู้นำอาเซียนได้ลงนามในกฎบัตร  อาเซียนซึ่งเปรียบเสมือนธรรมนูญของอาเซียนที่จะวางกรอบทางกฎหมายและโครงสร้างองค์กรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของอาเซียน ในการดำเนินการตามวัตถุประสงค์และเป้าหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขับเคลื่อนการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียน ภายในปี 2558 (ค.ศ. 2015) ตามที่ผู้นำอาเซียนได้ตกลงกันไว้ โดยวัตถุประสงค์ของกฎบัตรอาเซียน คือ ทำให้อาเซียนเป็นองค์การที่มีประสิทธิภาพ มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง และเคารพกฎกติกาในการทำงานมากขึ้น นอกจากนี้ กฎบัตรจะให้สถานะนิติบุคคลแก่อาเซียนเป็นองค์กรระหว่างรัฐบาล (Intergovernmental Organization)

กฎบัตรอาเซียน ประกอบด้วยข้อบทต่าง ๆ 13 บท 55 ข้อ มีประเด็นใหม่ที่แสดงความก้าวหน้าของอาเซียน ได้แก่

     (1) การจัดตั้งองค์กรสิทธิมนุษยชนของอาเซียน
     (2) การให้อำนาจเลขาธิการอาเซียนสอดส่องและรายงานการทำตามความตกลงของรัฐสมาชิก
     (3) การจัดตั้งกลไกสำหรับการระงับข้อพิพาทต่าง ๆ ระหว่างประเทศสมาชิก
     (4) การให้ผู้นำเป็น ผู้ตัดสินว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อรัฐผู้ละเมิดพันธกรณีตามกฎบัตรฯ อย่างร้ายแรง
     (5) การเปิดช่องให้ใช้วิธีการอื่นในการตัดสินใจได้หากไม่มีฉันทามติ
     (6) การส่งเสริมการปรึกษาหารือกันระหว่างประเทศสมาชิกเพื่อแก้ไขปัญหาที่กระทบต่อผลประโยชน์ร่วม
     (7) การเพิ่มบทบาทของประธานอาเซียนเพื่อให้อาเซียนสามารถตอบสนองต่อสถานการณ์ฉุกเฉินได้อย่างทันท่วงที
     (8) การเปิดช่องทางให้อาเซียนสามารถมีปฏิสัมพันธ์กับองค์กรภาคประชาสังคมมากขึ้น และ
     (9) การปรับปรุงโครงสร้างองค์กรให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เช่น ให้มีการประชุมสุดยอดอาเซียน 2 ครั้งต่อปี จัดตั้งคณะมนตรีเพื่อประสานความร่วมมือในแต่ละ 3 เสาหลัก และการมีคณะกรรมการผู้แทนถาวรประจำอาเซียน ที่กรุงจาการ์ตา เพื่อลดเวลาและค่าใช้จ่ายในการประชุมของอาเซียน เป็นต้น

    กฎบัตรอาเซียนมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคม 2551 หลังจากที่ประเทศสมาชิกครบทั้ง 10 ประเทศ ได้ให้สัตยาบันกฎบัตร และการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 14 ระหว่างวันที่ 28 กุมภาพันธ์ - 1 มีนาคม 2552 ที่จังหวัดเพชรบุรีเป็นการประชุมระดับผู้นำอาเซียนครั้งแรกหลังจากกฎบัตรมีผลบังคับใช้

วันศุกร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2555


แผนที่ กลุ่มประเทศอาเซียน

ประวัติอาเซียน

      สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีจุดเริ่มต้นขึ้นเมื่อเดือนกรกฎาคม  พ.ศ. 2504 โดยประเทศไทย มาเลเซียแลฟิลิปปินส์ได้ร่วมกันจัดตั้งสมาคมอาสา หรือ Association of South East Asia ขึ้นเพื่อการร่วมมือกันทาง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม แต่ดำเนินการได้เพียง 2 ปี ก็ต้องหยุดชะงักลง เนื่องจากความผกผันทางการเมืองระหว่าง ประเทศอินโดนีเซียและประเทศมาเลเซีย

            จนกระทั่งต่อมามีการฟื้นฟูสัมพันธภาพระหว่างประเทศขึ้น จึงได้มีการแสวงหาลู่ทางจัดตั้งองค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจขึ้นในภูมิภาค "สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้" และพันเอก (พิเศษ) ดร. ถนัด คอมันตร์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศในสมัยรัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร โดยมีการลงนาม "ปฏิญญากรุงเทพ" ที่พระราชวังสราญรมย์ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 จาก ปฏิญญาอาเซียน ซึ่งลงนามโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของประเทศสมาชิกก่อตั้ง10ประเทศ ได้แก่ ทุกประที่อยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ยกเว้น ติมอร์-เลสเต้

        ความประสงค์ของการจัดตั้งกลุ่มอาเซียนขึ้นมาเกิดจากความต้องการสภาพแวดล้อมภายนอกที่มั่นคง (เพื่อที่ผู้ปกครองของประเทศสมาชิกจะสามารถมุ่งความสนใจไปที่การสร้างประเทศ) ความกลัวต่อการแพร่ขยายของลัทธิคอมมิวนิสต์ ความศรัทธาหรือความเชื่อถือต่อมหาอำนาจภายนอกเสื่อมถอยลงในช่วงพุทธทศวรรษ 2500 รวมไปถึงความต้องการในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ การจัดตั้งกลุ่มอาเซียนมีวัตถุประสงค์ต่างกับการจัดตั้งสหภาพยุโรป เนื่องจากกลุ่มอาเซียนถูกสร้างขึ้นเพื่อสนับสนุนความเป็นชาตินิยม